10 เรื่องควรรู้ก่อนเริ่ม ก่อนเริ่มมื้อแรกของลูกรักวัย 6 เดือน
10. เทคนิคที่น้องไบร์ทจะบอกต่อไปนี้ จะช่วยให้คุณแม่มีความรู้ที่ถูกต้อง และมีความพร้อมในการทำอาหารเสริมให้ลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง ถูกหลัก และดีที่สุดค่ะ แต่ถึงจะเริ่มอาหารเสริมแล้ว ก็อย่าลืมให้ลูกกินนมในปริมาณที่เพียงพอด้วย เพราะน้ำนมแม่เป็นอาหารหลักที่สำคัญที่สุดของลูกน้อยขวบปีแรกค่ะ
1.อย่าเริ่มเร็ว
ควรเริ่มอาหารมื้อแรก เมื่อลูกอายุครบ 6 เดือน เพราะการให้อาหารเสริมลูกเร็วเกินไปคือก่อน 6 เดือน นั้นอาจทำให้ลูกมีอาการท้องอืด เพราะระบบย่อยอาหารของลูกยังไม่พร้อมในการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวหรือกล้วย อีกทั้งกระเพาะอาหารของลูกยังมีความจุน้อย การเริ่มอาหารเสริมเร็วจึงทำให้ลูกอิ่มข้าว แล้วกินนมซึ่งเป็นอาหารหลักที่เหมาะสมกับวัยได้น้อยลง
2.เริ่มทีละอย่าง
หลักการที่สำคัญในช่วงที่ให้ลูกทดลองอาหารคือ คุณแม่ควรให้ลูกทดลองกินผักและผลไม้ทีละชนิด เช่น เทสผักแต่ละชนิด นาน4-5 วัน เพื่อทดสอบอาการแพ้อาหาร การเริ่มอาหารทีละชนิดมีข้อดีก็คือ ช่วยให้คุณแม่สังเกตได้ว่า ลูกแพ้อาหารชนิดนั้นหรือไม่ จะได้หลีกเลี่ยงได้ถูก และลูกจะได้เรียนรู้รสชาติตามธรรมชาติของผักแต่ละชนิดด้วย ดังนั้นเพื่อการจัดการที่ง่ายและเป็นระบบควรทำตารางจดบันทึกวัตถุดิบต่างๆ จำนวนมื้อที่ป้อน และบันทึกว่าปรากฏอาการแพ้หรือไม่ เพราะถ้ามั่นใจว่าลูกไม่แพ้อาหารหรือผลไม้ชนิดนั้นๆ จะได้นำมาปรุงอาหารได้อย่างสบายใจ
3. เริ่มทีละน้อย
คุณแม่ควรป้อนอาหารให้ลูกทีละน้อยๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งลูกวัย 6 เดือน ทานแค่ วันละ 1 มื้อ มื้อละ 1 ช้อนโต๊ะ เท่านั้น แล้วตามด้วยนมแม่จนอิ่ม สัปดาห์ถัดไปค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละ 1 ช้อนโต๊ะ แต่ถ้าลูกมีท่าทางว่ายังไม่อิ่ม หรืออยากกินอีก ก็ค่อยป้อนเพิ่มได้บ้าง ซึ่งสังเกตได้จากการที่เขาไม่หันหน้าหนี หรือไม่ดุนอาหารออกจากปาก แต่ไม่ควรป้อนอาหารเยอะจนเกินไป เพราะอาหารหลักของลูกยังคือนมแม่หรือนมผสมค่ะ
4.เริ่มผักก่อนผลไม้
ควรเริ่มให้ลูกกินผักก่อน เพราะจะทำให้คุ้นชินกับรสชาติของผักที่มีรสอ่อนกว่า และหวานน้อยกว่าผลไม้ จะเป็นการฝึกให้ลูกกินผักได้ไปในตัว แต่ถ้าให้ลูกกินผลไม้ก่อนจะทำให้เขาชินกับรสหวานของผลไม้ จนปฏิเสธที่จะกินผักได้
ส่วนผักที่ควรเริ่มให้ลูกกินนั้น ควรเริ่มด้วยผักนิ่มๆ มีสีสันสวยงาม รสชาติไม่หวานจัด ไม่ขม และไม่มีกลิ่นฉุน เช่น แครอท ฟักทอง ตำลึง ถั่วลันเตาหวาน และบล็อคโคลี่ เป็นต้น
5.เริ่มไข่แดงก่อนไข่ขาว
คุณแม่มักสับสนว่า จะให้ลูกกินไข่แดงก่อนไข่ขาว หรือไข่ขาวก่อนไข่แดง หรือจะให้กินทั้งฟองดี เมื่อลูกครบ 7 เดือน เริ่มแรกควรจะให้ลูกกินเฉพาะไข่แดง เพราะลูกอาจจะแพ้โปรตีนที่มีในไข่ขาวได้มากกว่าไข่แดง ถึงแม้ว่าจะผ่านกรรมวิธีในการปรุงให้สุกแล้วก็ตาม อีกทั้งไข่ขาวยังย่อยยากกว่าไข่แดงอีกด้วย
ไข่แดงที่คุณแม่จะให้ลูกกินควรปรุงให้สุกเสียก่อนเพราะการกินที่ยังไม่สุกดีหรือที่เรียกกันว่า “ยางมะตูม” นั้นจะย่อยยากกว่าไข่ที่สุก และเมื่อลูกอายุประมาณ 1 ขวบขึ้นไป ค่อยให้เริ่มทานไข่ทั้งฟอง
6. เริ่มปลาน้ำจืดก่อนปลาทะเล
ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ แถมยังมีสารอาหารหลายชนิดที่จำเป็นต่อสมองและการเจริญเติบโตของลูก อาหารเสริมลูกน้อยจึงไม่ควรพลาดเมนูปลา
ปลาที่เหมาะสำหรับอาหารเสริมที่สุดคือปลาน้ำจืด เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาช่อน ปลาดุก หรือปลาสวาย เพราะเป็นปลาที่มีเนื้อนิ่ม ก้างใหญ่ บดให้ละเอียดง่าย อย่างปลาช่อนถือเป็นปลาน้ำจืดที่มีโอเมกา 3 มากที่สุดในบรรดาปลาน้ำจืดด้วยกัน ส่วนปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาแซลมอน ควรให้ลูกเริ่มกินเมื่ออายุ 1 ขวบขึ้นไป เพราะมีความเสี่ยงที่จะแพ้โปรตีนในปลาทะเลง่ายกว่าปลาน้ำจืด
7. เลี่ยงการปรุงรส
การให้ลูกกินผลไม้ปั่น เช่น มะม่วง มะละกอ แอปเปิ้ล สาลี่ แพร์ จะช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย ผลไม้ที่นึ่งและปั่นสดจะได้ประโยชน์มากที่สุด และลูกควรกินผลไม้ปั่นทันทีเมื่อทำเสร็จหรือไม่ควรนานเกิน 15 นาที เพราะวิตามินในผลไม้จะไม่สูญเสียไป มั่นใจได้ว่าลูกกินแล้วจะไม่ท้องเสีย และปราศจากเชื้อโรค แน่นอน
8. ผลไม้ปั่นเองดีที่สุด
การให้ลูกกินผลไม้ปั่น เช่น มะม่วง มะละกอ แอปเปิ้ล สาลี่ แพร์ จะช่วยในเรื่องของระบบขับถ่
9. อุ่นร้อนก่อนกิน
อาหารที่ทำให้ลูกกิน ถ้าทำเสร็จ สด ใหม่ แล้วรับประทานเลยคงจะไม่มีปัญหา แต่สำหรับคุณแม่บางท่านสิ ทำงานนอกบ้านด้วย มีความจำเป็นที่จะต้องทำอาหารฟรีสไว้ ให้คุณยายป้อนแทน ก่อนป้อนจะต้องอุ่นอาหารให้ร้อนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการอุ่นด้วยไมโครเวฟ หรือการอุ่นด้วยเครื่องนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียอีกรอบค่ะ
อาหารที่อุ่นให้ลูกกินแล้ว เมื่อกินไม่หมดควรเททิ้ง ไม่ควรนำกลับมาให้กินใหม่ เพื่อป้องกันแบคทีเรียในน้ำลายของลูกจากการป้อนครั้งก่อน
10. ป้อนมื้อเช้าชัวร์ที่สุด
อาหารเสริมลูกควรเป็นอาหารปั่นละเอียด ลักษณะของอาหารควรเหลวเป็นน้ำคล้ายโยเกิร์ตหรือเหลวกว่า ควรป้อนมื้อเช้าหรือกลางวัน เพราะหากมีอาการแพ้จะได้ไปโรงพยาบาลเตรียมหาหมอทัน แต่ถ้าหากว่าไม่มีอาการแพ้สามารถเปลี่ยนมาป้อนมื้อเย็นได้ เพราะจะทำให้ลูกอิ่มนานขึ้นและหลับยาวขึ้น