กลเม็ดเด็ดพิชิตเด็กทานยาก (ภาคจบ)

หลังจากทิ้งท้ายไว้จากภาคแรกกับ แนวทางจัดการเด็กทานยาก ที่นี้เราจะมาต่อกันด้วยว่า แล้วจะรู้ได้ไงว่าเด็กอิ่มแล้ว
.
สัญญาณที่บ่งชี้ว่าเด็กได้รับอาหารอย่างเพียงพอแล้วเป็นแบบนี้ค่ะ
ปิดปากแม้ว่าจะป้อน/เสนออาหารให้ก็ตาม
พูด “ไม่” หรือส่ายหัว/ส่ายหน้าออกจากอาหารที่จะป้อน/เสนอให้
ผลักหรือดันช้อน ชาม หรือจานที่บรรจุอาหารออก
ปฏิเสธการกลืนอาหารหรือคายอาหารออกจากปาก
ยันตัวขึ้นหรือพยายามที่จะปีนออกจากเก้าอี้ทานข้าว
ร้องไห้หรือกรีดร้อง
คลื่นไส้หรืออาเจียน
.
ถ้าเด็กแสดงท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเหล่านี้ มันเป็นการส่งสัญญาณว่าเด็กกำลังอิ่ม ให้พ่อแม่เก็บจานอาหารออกไปอย่างง่ายๆ เลย แม้ว่าเด็กอาจจะทานไปไม่มากก็ตาม เพราะมันแสดงว่าเด็กหมดความสนใจในอาหารมื้อนี้แล้ว ดังนั้นให้พ่อแม่เตรียมอาหารหลักหรืออาหารว่างในมื้อถัดไปแทน ซึ่งส่วนใหญ่เด็กจะทานได้มากขึ้นในมื้อถัดไป…confirmed!!!
การป้อนอาหารเด็กในแต่ละมื้อ พ่อแม่หลายคนมักประสบกับความเครียด เบื่อ เหนื่อยหน่าย หรือมีความวิตกกังวลเนื่องจากเด็กมักปฏิเสธอาหาร ไม่ยอมทานอาหารที่เตรียมไว้ ทานในปริมาณน้อย หรืออาจจะไม่ทานเลย

?เคล็ดลับนี้จะช่วยลดและคลายความเครียดของพ่อแม่ให้น้อยลงและช่วยให้ช่วงเวลาทานอาหารของเด็กๆ เป็นเชิงบวก :

อย่าเกลี้ยกล่อม อย่าหลอกล่อ อย่าโน้มน้าว อย่าติดสินบน หรืออย่าอ้อนวอนให้เด็กทานอาหาร 
?การกระตุ้นอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เด็กทานอาหารถือว่า ?และยอมรับได้ แต่ไม่ควรยืนกรานหรือบังคับให้เด็กต้องทานอาหารทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในจานให้หมด เมื่อเด็กทานอย่างเพียงพอและหยุดที่จะทานแล้ว อีกทั้งอย่าใช้ช้อนป้อนอาหารเด็กต่อ หรือบังคับเอาอาหารเข้าปากเด็กเด็ดขาด เพราะสิ่งนี้จะทำให้เด็กเกิดการกลัวอาหารและ กลายเป็นเด็กทานยาก พ่อแม่สามารถกระตุ้นอย่างเล็กๆ น้อยๆ ให้เด็กทานเพิ่มมากขึ้นกว่าที่เด็กต้องการได้เท่านั้น
อย่าเสนออาหารชนิดอื่นมาแทนอาหารที่จัดเตรียมให้แล้วเด็กไม่ทาน 
?เด็กจะติดนิสัยเอาเปรียบ! (Take advantage) ถ้าพ่อแม่ให้อาหารที่ถูกใจหรือตามใจเด็กทุกๆ ครั้งที่เด็กปฏิเสธอาหารใหม่ๆ หรืออาหารที่จัดเตรียมไว้ให้ ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในระยะยาว พ่อแม่ควรจัดอาหารในสัดส่วนที่พอเหมาะกับเด็กและให้เด็กได้ทานอาหารที่หลากหลายและแปลกใหม่อยู่เสมอๆ ที่สำคัญในแต่ละมื้อให้พ่อแม่พยายามเตรียมอาหาร 1 อย่างที่พ่อแม่รู้ว่าเด็กจะทานได้ไว้เผื่อด้วย
อย่าให้รางวัลเด็กด้วยขนมหวาน 
?พ่อแม่หลายคนมักให้รางวัลแก่เด็กเป็นขนมหวานเมื่อเด็กทานอาหารได้ดี รวมทั้งการเน้นทำเมนูของหวานที่ตรงตามความชอบของเด็กมากกว่าทำเมนูหลักให้เด็กทาน เพียงต้องการให้เด็กได้มีอะไรตกถึงท้องบ้าง วิธีการนี้ไม่เพียงทำให้เด็กติดขนมหวานหรือของหวานเท่านั้นแต่ยังทำให้เด็กมีนิสัยไม่รักการทานอาหารสุขภาพไปจนโตอีกด้วย
อย่าลืมเครื่องดื่มสำหรับเด็ก
?เด็กต้องการปริมาณนมวันละ 350-500 มิลลิลิตรเท่านั้น ถ้าเด็กดื่มนมในปริมาณมากกว่านี้จะทำให้ความอยากทานอาหารลงลด เนื่องจากอิ่มมากเกินไป (ที่สำคัญทำให้เปลืองเนื้อที่ในกระเพาะอาหารของเด็กด้วยค่ะ) “องค์กรอนามัยโลกแนะนำว่าควรให้นมแม่แก่เด็กอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ขวบ แต่ก็สามารถเสริมนมวัวแบบไขมันปกติแก่เด็กได้ (แต่ต้องไม่แพ้นมวัว)” เด็กวัยนี้ต้องการสารอาหารที่หลากหลายจากอาหารหลัก3มื้อ! ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงการให้เด็กดื่มนมเป็นปริมาณมากก่อนมื้ออาหารเพราะจะทำให้เด็กอิ่ม ถ้าเด็กหิวน้ำให้เด็กดื่มน้ำเปล่าแทน เนื่องจากน้ำผลไม้มีความเป็นกรดและเต็มไปด้วยน้ำตาลซึ่งอาจทำให้เด็กฟันผุได้ ซึ่งรวมถึงน้ำผลไม้ทุกชนิดที่เขียนว่า “น้ำตาลต่ำหรือไม่เติมน้ำตาลใดๆ ทั้งสิ้น” เพราะมันมีความหวานที่อาจจะส่งผลกระทบต่อฟันเด็ก ถ้าพ่อแม่ต้องการให้เด็กมีสุขภาพที่ดีควรตัดรายการน้ำผลไม้ออกจากการช้อปปิ้งอาหารให้เด็ก นอกจากนั้นพยายามให้เด็กเลิกขวดนม และฝึกให้เด็กใช้ถ้วยหรือแก้วหัดดื่มในการดื่มนมแทน
อย่าให้ขนมทั้งก่อนและหลังอาหาร
?พยายามอย่าให้ขนมเด็กใกล้กับเวลาอาหารหลัก เพราะเด็กจะอิ่มในการทานอาหารกลางวันหรืออาหารเย็น ถ้าเด็กทานอาหารหลักได้ไม่ดี อย่าให้ขนมเพื่อเป็นการทดแทนอาหารหลักเด็ดขาด เพียงแค่ให้รู้สึกสบายใจขึ้นว่าเด็กได้มีอะไรตกถึงท้องบ้าง! พ่อแม่ต้องยึดมั่นในรูปแบบของการเน้นอาหารหลัก 3 มื้อ ถ้าเด็กไม่ทานมื้อนี้ต้องยอมรับ+ปล่อยผ่านว่าลูกอิ่มแล้ว และต้องรอจนถึงเวลามื้อถัดไปถึงจะเสริฟอาหารให้เด็กได้
อย่ายึดติดว่าการปฏิเสธอาหารของเด็กจะเป็นไปอย่างถาวร
?แม้ว่าเด็กจะปฏิเสธอาหารบางอย่างในเวลานี้ แต่ในอนาคตเด็กอาจจะกลับมาชอบอาหารเหล่านี้ได้ เนื่องจากพฤติกรรมในการทานอาหารของเด็กมันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา “เด็กบางคนต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 ครั้งในการลองทานอาหารใหม่ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างเพียงพอที่จะยอมรับและยอมทานอาหารเหล่านั้นได้!”
อย่าเครียดถ้าช่วงเวลาทานอาหารไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ 
?อย่าเครียดกับตัวเองและตัวเด็กมากจนเกินไป เพียงแค่วางมันไว้ข้างหลังและพยายามจัดการแต่ละมื้ออาหารในเชิงบวก มันจะส่งผลให้ทั้งพ่อแม่และเด็กเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยตัวเด็กก็จะเรียนรู้ที่จะพยายามทดลองเนื้อสัมผัสและรสชาดอาหารใหม่ๆ ส่วนพ่อแม่ก็จะได้เรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาเด็กทานยากได้อย่างแยบยลมากขึ้น แต่พ่อแม่ต้องให้เวลากับมันและมีความอดทน เพราะเมื่อถึงเวลาเด็กจะเติบโตขึ้นและมีความสุขกับการทานอาหารมากขึ้น
หากพ่อแม่ยังไม่คลายความกังวลและมีความเครียดเกี่ยวกับพฤติกรรมการทานอาหารของเด็ก แนะนำให้จดบันทึกอาหารและเครื่องดื่มที่เด็กทานทั้งหมดเป็นรายสัปดาห์ และลองเช็คว่าเด็กทานอาหารบางอย่างใน 4 กลุ่มอาหารหลักเหล่านี้หรือไม่?

4กลุ่มอาหารหลักที่มีประโยชน์ต่อเด็ก
ในแต่ละวันพ่อแม่ควรจัดอาหารเด็กให้มีความหลากหลายจาก 4 กลุ่มอาหารหลักดังนี้:
แป้งคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต พาสต้า ขนมปังโฮลวีท รำข้าว
ผักและผลไม้
อาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ที่สดและคุณภาพสูง ปลา ไข่ ถั่วเลนทิล หรือถั่วต่างๆ
ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส นม และกรีกโยเกิร์ต (แท้)
ถ้าเด็กได้ทานอาหารบางอย่างจากแต่ละกลุ่มเหล่านี้ พ่อแม่ก็สบายใจได้เลยว่า “เด็กจะไม่ขาดสารอาหารแน่นอน”

Credit: Kid Cafe by Mommy Ten and Baby Dhamma

ใส่ความเห็น

Your email address will not be published. Required fields are marked *

clear formPost comment