8 อาหารก่อภูมิแพ้ที่คุณแม่ต้องระวัง
การแพ้อาหาร คือ การผิดปกติของร่างกายเมื่อทานอาหารบางอย่างเข้าไป โดยสาเหตุของความ ผิดปกติเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 😷😖🤒
.
อาการไม่พึงประสงค์จากอาหาร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อยต่อไปนี้
🔅lgE mediated reaction เช่น อาการแพถั่วลิสงที่เกิดขึ้นภายใน 1 นาทีหลังจากกินเข้าไป
🔅Non lgE mediated reaction ส่วนใหญ่จะเกิดภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง
2. Food intolerances ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น lactose intolerances แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย
🔆 Toxic reaction เช่น อาหารเป็นพิษ หรือไัด้รับพิษจากปลา
🔆Non-toxic reaction เช่น แพ้นม (lactose intolerances)
การแพ้อาหาร 90% มีสาเหตุมาจากอาหาร 8 อย่างดังนี้
1.นมวัว 🧀: อาการแพ้นมวัวพบมากในเด็กเล็กที่มีอายุประมาณ 6 เดือน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนในนมวัวได้ อาการแพ้นมวัวพบมากกว่าโรคภูมิแพ้ไข่ และถั่วลิสงถึง 2 เท่า นอกจากการรับจากนมวัวโดยตรงแล้วให้คุณแม่คำนึงถึงอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวและผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปมาจากนมวัวด้วย เช่น คุ้กกี้ เบเกอรี่ เนย ชีส โยเกิร์ต ครีม
แต่อย่าเพิ่งตื่นตูมไปนะคะ นมวัวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะอัตราการแพ้นมวัวที่เจอในเด็กไม่ถึง 1% หรือถ้าแพ้ก็สามารถดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหลัง 1-2 ขวบ (ส่วนใหญ่จะกลับมากินนมวัวได้ตามปกติ)
2. ไข่🐣: เด็กหลายคนแพ้โปรตีนในไข่ขาว เพราะในไข่ขาวมี อัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทนความร้อนได้ดีมาก ไม่ว่าจะทำให้สุกอย่างไรโปรตีนตัวนี้ก็ยังคงอยู่ เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 8 เดือน ระบบย่อยยังทำงานไม่เต็มที่ จึงมีโอกาสแพ้ ได้ แนะนำให้ลูกเริ่มทานไข่ขาวได้เมื่ออายุสัก 10 เดือนขึ้นไป โดยให้เริ่มแค่ครึ่งฟองก่อน
3. ถั่วลิสง🥜 : เด็กที่มีอาการแพ้ถั่วจะแพ้ไปตลอดชีวิต และมีความไวต่อการแพ้มาก อีกทั้งมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วพบว่าเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะแพ้ถั่วลิสงตั้งแต่อายุ 2-3 ขวบเป็นต้นไป ซึ่งสาเหตุก็มาจากการแพ้โปรตีนในถั่วลิสงนั่นเอง นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่แพ้ถั่วลิสงมีแนวโน้มแพ้ถั่วเปลือกแข็งอีกหลายชนิด เช่น วอลนัท แมคคาเดเมีย และควรระวังผลิตภัณฑ์ที่มีถั่วเป็นส่วนผสมด้วยเช่น พีนัทบัตเตอร์
4.ถั่วเปลือกแข็ง🌰: ถั่วเปลือกแข็งหรือถั่วตระกูลไม้ยืนต้น เช่น อัลมอนด์ วอลนัท เฮเซลนัท ถั่วบราซิล แมคคาเดเมีย เกาลัด พิสตาชิโอ เป็นต้น อย่างที่ทราบว่าคนที่แพ้ถั่วลิสงมีแนวโน้มจะแพ้ถั่วประเภทนี้ด้วย แต่บางครั้งก็พบว่าคนที่แพ้อัลมอนด์ก็อาจไม่ได้แพ้วอลนัทด้วยเสมอไป คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปทำการทดสอบกับคุณหมอเพื่อความแน่ใจจะดีที่สุดค่ะ
5.แป้งสาลี 🍪: ตัวการคือโปรตีนกลูเตนในแป้งสาลี ซึ่งเราสามารถเลือกอาหารที่ปลอดกลูเตนได้ ด้วยการสังเกตฉลาก หากมีคำว่า Gluten Free หรือเลือกอาหารทดแทนอย่างการใช้แป้งข้าวจ้าวแทนแป้งสาลี อย่างไรก็ตาม กลูเตนไม่ได้มีอยู่ในแป้งสาลีอย่างดียว แต่ยังมีอยู่ในอาหารอื่นๆ ด้วย เช่น ซีอิ๊ว น้ำมันหอย อาหารเจ เบเกอรี่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คุณแม่ควรระวังและอ่านฉลากให้ละเอียดว่ามีแป้งสาลี เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยหรือไม่
6.ปลา 🐟: การแพ้ปลาเกิดจากแพ้โปรตีนในเนื้อปลา เด็กแต่ละคนอาจแพ้ปลาที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางคนแพ้ปลาแซลมอน บางคนแพ้ปลาดุก บางคนแพ้ปลาทูน่า หรือแพ้ปลาทะเล การแพ้ปลานี้ ซึ่งนอกจากทานปลาไม่ได้แล้ว การสัมผัส การใช้ภาชนะที่มีปลาปนเปื้อน หรือการทานผลิตภัณฑ์ที่มีปลาผสมอยู่ แม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้แพ้ได้เช่นกัน
7. อาหารทะเล 🦀: เป็นอาหารอีกประเภทที่เด็กมีอาการแพ้บ่อย บางคนอาจมีอาการแพ้ไม่เหมือนกัน เช่น แพ้แค่กุ้ง บางคนแพ้แค่หอย แต่ทั้งนี้แพทย์จะแนะนำให้งดอาหารทะเลประเภทเดียวกันไปเลย เช่น คนที่แพ้กุ้ง ก็ต้องงดทานปูด้วย เพราะมีโอกาสแพ้ปูได้เช่นกัน หรือคนที่แพ้ปลาแซลมอนก็มีโอกาสแพ้ปลาชนิดอื่นด้วย
8. ถั่วเหลือง 🧁: ตัวการที่ทำให้เกิดการแพ้ คือโปรตีนถั่วเหลือง ซึ่งอาจผสมอยู่ในน้ำเต้าหู้ หรือในอาหารที่ใช้นมถั่วเหลืองเป็นส่วนผสม เช่น เบเกอรี่ต่างๆ
ทุกครั้งที่คุณแม่ให้อาหารลูกอย่าลืมสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูกด้วยทุกครั้ง และในบางครอบครัวที่ทีประวัติแพ้อาหารเหล่านี้ด้วยละก็ ต้องยิ่งเฝ้าระวังและสังเกตเป็นพิเศษด้วยคะ ถ้าสงสัยว่าลูกมีอาการแพ้ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
.
#ถ้าคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคนรู้จักหรือคนรักใกล้ตัวเรา
#อย่าลืมแชร์หรือแท้กให้คนรักได้อ่านกันเยอะนะคะ💞❤
#thaibabyfoodblender
#อาหารสมองดี้ดีลูกอ้วนพีร่างกายแจ่มใส
Cr.parentsone.com
fisheries.go.th